top of page

Specific documents : RC1082 - ไข้แดง *เร่งด่วน*

ตัวอย่างแรก : ขวด RC1082 เลือดและเนื้อเยื่อที่เก็บเกี่ยวมาจากแขนขวาของ พอล ไวท์ (เสียชีวิตในหน้าที่)

เป้าหมายสูงสุด : หาทางแก้ไข รักษา และป้องกันในกรณีเกิดการติดเชื้อ

การเปรียบเทียบ : มนุษย์

 

การทดสอบเชื้อลำดับที่ 1 : เชื้อเติบโตได้รวดเร็วว่า 'V4801' อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่มีน้ำเฉลี่ยในร่างกายเกิน70% เซลล์ถูกกัดกินและแทนที่ในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ลุกลามไปทั่วร่าง ไม่พบยาที่สามารถขจัดเชื้อได้ สำหรับเนื้อเยื่อหรือชิ้นส่วนของร่างกายที่สัมผัสเชื้อจะเข้าสู่กระบวนการเสื่อม และกลายเป็นเนื้อตายในเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง

 

การทดสอบเชื้อลำดับที่ 2 : เชื้อไม่แพร่กระจายในอากาศ ไม่เกิดการติดต่อของโรคผ่านการสัมผัสภายนอก หรือไม่เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านบาดแผล มีการทดลองทิ้งเชื้อไว้ในพื้นที่ที่ควบคุม พบว่าเชื้อจะตายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มีความทนทานต่ออุณหภูมิสูง

 

การทดสอบเชื้อลำดับที่ 3 : RC1082 สามารถจำกัดเชื้อ 'V4801' ได้!

  • RC1082 สลายเชื้อไวรัส V4801 ได้ในเวลาไม่ถึง3ชั่วโมง

  • อาจพบการลดการแพร่กระจายของ V4801

  • แต่ยังไม่สามารถใช้ในการรักษามนุษย์ได้

    • เชื้อ V4801 ในร่างกายได้สลายไป แต่เกิดผลข้างเคียงกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจถูกทำลายไปด้วย

การทดสอบเชื้อลำดับที่ 4 : มีการวิเคราะห์ว่า ทำไม ‘แหล่งกำเนิดเชื้อ RC1082’ ถึงสามารถกักเก็บเชื้อไวรัสอันตรายไว้ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย คาดว่าเป็นที่ระบบกลั่นกรอง หรือต่อมภายในร่างกาย 

  • ข้อเสนอ : ต้องการตัวอย่างมากกว่านี้

    • รายละเอียดตัวอย่าง :

      • ​สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ระบุชื่อ 'สไพน'

      • ขนาดที่พบเห็น 2-5 เมตร

      • มี6ขา ขาหน้าคู่เป็นหนามแหลมขนาดใหญ่ มีลักษณะแข็งเพื่อใช้ในการขุดเจาะ และปีนป่าย

      • มีปากกว้าง ลำตัวคล้ายดักแด้ 

  • ข้อเสนอ : ถูกระงับการเก็บตัวอย่างในทันที (ลงชื่อผู้ระงับ ลายเซ็นเลือนเกินกว่าจะอ่านออก)

มีทฤษฎีที่เชื่อว่า RC1082 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางรหัสพันธุกรรมของไวรัส V4801 แต่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด

มีการคัดค้านว่า RC1082 ไม่มีความเชื่อมโยงกับ V4801 เพราะเชื้ออยู่ในสภาวะกัดกินกันและกัน และระบบแพร่กระจายต่างกัน

 

ตัวอย่างของผู้ที่ติดเชื้อ แม้ได้รับวัคซีน(ที่อยู่ในระหว่างการทดลอง)ช่วยยับยั้ง แต่ระบบร่างกายของผู้ติดเชื้อก็ค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอน

  • ขั้นแรก

    • ผู้ติดเชื้อจะมีอาการชาบริเวณปากแผล จุดที่ได้รับเชื้อ

    • หากรับเชื้อโดยการกลืน จะมีอาการตามบริเวณลำคอ

  • ขั้นที่สอง หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 5 ชั่วโมง

    • ปากแผล หรือบริเวณที่ได้รับเชื้อจะมีลักษณะบวม คล้ำ คล้ายมีเลือดคลั่ง เกิดเนื้อตาย นิ้วชา เท้าชา ปากซีด

  • ขั้นที่สาม หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 10 ชั่วโมง

    • เชื้อไวรัสได้แพร่กระจายทั่วร่างกายของผู้ติดเชื้อ เกิดการลุกลามภายใน ระบบหายใจผิดปกติ หายใจรุนแรง ตาแห้ง ปากแห้ง ร่างกายเข้าสู่สภาวะขาดน้ำ

  • ขั้นที่สี่ หลังจากได้รับเชื้อ ภายใน 24 ชั่วโมง

    • ผู้ติดเชื้อมีสภาพอ่อนแรง ขยับร่างกายได้ลำบาก มีปัญหาในระบบการรับฟัง การมองเห็น ความจำ การตอบสนอง

  • ขั้นสุดท้าย

    • หลังจากการเฝ้าจดบันทึก ผู้ติดเชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 5-7 วัน ก่อนเข้าสู่กระบวนการเสียชีวิต

    • มีการยกประเด็นภูมิต้านทานในร่างกายขึ้นมาถกเถียง

 

ร่างกายผู้ติดเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงระบบอวัยวะภายในมากกว่าภายนอก ระบบการหายใจผิดปกติตั้งแต่วันแรก ระบบการขับของเสียล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ รุนแรงขึ้นลงทุก 3 ชั่วโมง กล้ามเนื้ออ่อนเกิดการเน่าของแผล และกลายเป็นเนื้อตาย

.....................................

 

งานวิจัยลำดับที่ 3 หมวดวิจัยพืชลำดับที่ 82

การค้นพบไวรัสในพืช ทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกพืชบางชนิดได้

ไวรัส ‘BO511’ ถูกค้นพบในปี 35 ระหว่างการขุดเจาะชั้นดิน และนำดินมาผสมทดลองเพาะปลูก พืชบางชนิดไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ และเกิดโรคอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถนำไปจัดสรรเป็นทรัพยากรได้ทั้งหมด

  • ตัวอย่างที่ 1 : สตรอว์เบอร์รี่ที่ตรวจพบเชื้อ จะมีลักษณะลูกขาว เนื้อในเน่าเสียไว ลำต้นแห้งเหี่ยวเร็วกว่าปกติ

  • ตัวอย่างที่ 2 : แตงโมที่พบเชื้อ จะมีลักษณะลูกเล็ก แข็ง บางครั้งพบว่าด้านในไม่มีเนื้อ ไม่มีน้ำ ผิวบวม ขรุขระ

  • ตัวอย่างที่ 3 : ต้นโกโก้ที่พบเชื้อ จะมีลักษณะเกิดยางภายในลำต้น ให้ผลน้อย เมื่อนำมาสกัดเป็นเมล็ด หากรับประทานจะมีรสชาติเปรี้ยว ตามด้วยอาการท้องร่วง

    • มีการทดลองปลูกโกโก้โดยใช้น้ำและสารสังเคราะห์ พบว่าไม่ติดเชื้อ แต่ต้องการน้ำอย่างมากกว่าจะเติบโต ใช้เวลานานมากกว่าการปลูกลงดินปกติหลายเท่า เก็บเกี่ยวได้ไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่นิยมปลูกจำนวนมาก

  • ตัวอย่างที่ 4 : ข้าวที่พบเชื้อ จะมีลักษณะต้นสูงใบใหญ่ เมล็ดบวมไม่เท่ากัน เมื่อนำมาขัดสีและหุงต้ม จะได้ข้าวที่เป็นยาง และเป็นผลเสียต่อร่างกายมนุษย์ ใช้เวลานานมากในการทดลองเพาะปลูก

    • มีการนำไปหมัก แต่เกิดการเน่าเสียภายหลัง

การทดลองวิธีต้านไวรัส ‘BO511’ ในพืช 

แรกเริ่ม ‘BO511’ ถูกระงับอาการไปในปี 40 โดยกลุ่มนักวิจัยน้ำและดิน นักวิจัยนำพืชที่ติดเชื้อมาฟรีซที่อุณหภูมิ -190c แล้วทดลองละลาย เชื้อBO511สลายตัวเมื่อเจอกับอุณหภูมิติดลบ เนื่องจากพื้นที่ภายในSHค่อนข้างร้อน การสร้างลมหรือเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกด้วยความเย็นจึงเป็นไปได้ยาก

ต่อมามีการทดลองปลูกพืชระบบน้ําหยดในปี 48 มีนักวิจัยท่านหนึ่งบอกมาว่า BO511 คือการขับน้ำของพืช เร่งการเจริญเติบโตของพืชให้ไวกว่าปกติถึง 5 เท่า จึงหันมาทดลองให้น้ำแก่พืชในระดับที่พอเหมาะ ไม่ให้มากไป น้อยไป รวมถึงควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงจนเชื้อเติบโตได้ 

ปัจจุบันยังมีการทดลองต้านไวรัสBO511อยู่ ซึ่งอาจมีการค้นพบวิธีจากนักวิจัยรุ่นใหม่...


 

bottom of page